วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขั้วโลกเหนือเคยร้อนมาก่อน?

ขั้วโลกเหนือเคยร้อนมาก่อน?
ทีมสำรวจได้เจาะแกนตะกอนจากบริเวณพื้นมหาสมุทรอาร์คติก และพบข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่สำคัญมาก คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมบนโลกในระยะยาว
9 พย 2004 เป็นวันที่นักวิทยาศาสตร์จาก ACEX (arctic coring expedition) รอมานานแสนนาน ทีมนักวิทยาศาสตร์ 32 คนประกอบไปด้วย นักธรณีวิทยา นักเคมี นักวิเคราะห์ฟอสซิล นักจุลชีววิทยา และนักอื่นๆอีกจาก 10 ประเทศมาพบกันที่ โกดังเก็บแกนตะกอนของ IODP (integrated ocean drilling program) ที่มหาวิทยาลัยเบรเมน ชั้นในโกดังนี้เก็บแกนตะกอนยาวถึง 75 กิโลเมตร ที่ได้จากการขุดเจาะพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลเมดิเตอเรเนียน ทะเลใต้ ทั้งหมดดูกตัดแบ่งให้ยาว 1.5 เมตร เก็บในถุงพลาสติก
เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการขุดเจาะแกนตะกอนยาว 340 เมตรที่มีค่ามาก ซึ่งได้มาจากการสำรวจนาน 6สัปดาห์ช่วง สค-กย ปี 2004 ในบริเวณที่ไม่ไกลจากขั้วโลกเหนือ
7 สค 2004 เรือ Oden เรือตัดน้ำแข็งยาว 108เมตร กว้าง 31เมตร กำลัง 24000แรงม้า ได้ออกจากเมือง Tromso ประเทศ Norway มุ่งหน้าสู่ขั้วโลกเหนือ เรือ Vidar Viking เรือโยงยาว 84เมตร ที่ปกติใช้ในการขุดเจาะน้ำมัน ก็ออกเดินทางตามมาติดๆ มันได้ถูกเปลี่ยนเป็นสถานีสำหรับขุดเจาะที่ขั้วโลกเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ โดยตรงกลางเรือมีเครื่องขุดเจาะสูง 34เมตร
10 สค 2004 ที่ 82 ดีกรีเหนือเส้นรุ้ง ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของบริเวณ Franz-Joseph เรือ Odenและ Vidar Viking ได้ไปพบกับเรือ Sovetskiy Soyuz เรือตัดน้ำแข็งยาว 148เมตร ที่ใช้พลังงานปรมาณู ด้วยกำลัง 75000แรงม้า ด้วยเรือทั้ง 3ลำนี้ คณะสำรวจก็มั่นใจได้ว่าพวกเขาพร้อมแล้ว บริเวณที่จะทำการสำรวจคาดว่าจะมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่หนาแน่นมาก ลมและกระแสน้ำก็ยังมีผลให้น้ำแข็งเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาด้วย ซึ่งทำให้แม้แต่เรือขุดเจาะที่มีกำลังมากอย่าง Vidar Viking อยู่นิ่งๆกับที่ได้ยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ถ้าเรือไม่อยู่นิ่งๆอาจทำให้เชือกของเครื่องเจาะขาดได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเรือ Odenและ Sovetskiy Soyuz ที่จะอยู่ไม่ไกลออกไปเพื่อคอยตัดแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่อาจหนาได้ถึง 4เมตร ให้เหลือขนาดที่จะไม่รบกวนเครื่องขุดเจาะได้
1 กย 2004 ที่อุณหภูมิ –5 องศาเซลเซียส งานดำเนินไปด้วยดี เรือ Vidar Viking อยู่ตำแหน่งที่ต้องการมาได้นานถึง 125 ชม แล้ว ชั้นตะกอนที่หนา 427เมตร ได้ถูกเจาะจนเกือบเสร็จแล้ว นักศึกษาฟอสซิลของจุลชีพ 9คน กำลังมีงานล้นมือ พวกเขาต้องวิเคราะห์อายุของชั้นตะกอนที่ขุดเจาะออกมา 5 กย 2004 เวลาประมาณตีสอง เครื่องเจาะก็เข้าถึงชั้นหินทราย เมื่อแกนตะกอนสุดท้ายถูกนำขึ้นมา เรือก็มุ่งหน้ากลับสู่ Tromso
แกนตะกอนทั้งหมดที่ได้มายาวรวมกัน 340เมตร จากสี่ตำแหน่ง และการขุดเจาะทั้งหมด 6ครั้ง ซึ่งให้ข้อมูลกว้างถึง 80ล้านปี แกนตะกอน 160เมตรแรก เกือบจะให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศใน 15ล้านปีที่ผ่านมา แกนตะกอนที่ส่วนก้อน 200เมตรให้ข้อมูลในยุคกลางและยุคแรกๆของ สมัย Paleogene หรือย้อนกัลไปถึงเกือบ 56ล้านปี แต่ยังไม่ทราบว่าทำไมข้อมูลช่วง 15-35 ล้านปีก่อนถึงขาดหายไป
ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของบริเวณกลางมหาสมุทรอาร์คติก เป็นไปในทำนองเดียวกับของที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆของโลก ข้อมูลจาก microfossils ชี้ว่าเมื่อ 55ล้านปีก่อน มหาสมุทรอาร์คติกไม่ได้หนาวแบบนี้แต่อยู่ในช่วงอบอุ่นแบบ sub-tropical อุณหภูมิประมาณ 20องศาเซลเซียสเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ นี่เป็นครั้งแรกที่เราพบว่าอุณหภูมิสูงสุดของโลกในช่วงจุดเปลี่ยนระหว่างยุค Palaeocene กับEocene อยู่ที่มหาสมุทรอาร์ติก
แกนตะกอนยังมีข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นอีกคือ การมีอยู่ของสาหร่ายและเฟิร์นในน้ำจืด ของช่วงกลางยุค Eocene 49ล้านปีก่อน ชี้ให้เห็นว่า น้ำที่มาจากแม่น้ำจากทวีปที่อยู่รอบๆ มีความสำคัญต่อวงจรน้ำที่มหาสมุทรอาร์คติกอย่างมาก ซึ่งเป็นความรู้ที่ขัดกับความเชื่อที่มีมาแต่เดิม ตะกอนสารซิลิเกตและคาร์บอน ในกลางยุค Eocene ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่ผิวน้ำ มากกว่าที่เป็นอย่างในยุคปัจจุบัน ในสมัยโน้นน่าจะมีพืชอาศัยอยู่มากทีเดียว ส่วนในช่วง 15ล้านปีก่อนน่าจะมีการพาทรายและอนุภาคซิลิเกตเข้ามาโดยสม่ำเสมอผ่านทางภูเขาน้ำแข็ง นั่นคือทะเลน้ำแข็งเริ่มมีบทบาทต่อสภาพอากาศของมหาสมุทรอาร์คติกในช่วงยุคนี้ อีกประเด็นก็คือการค้นพบหินซิลิเกตจากกลางยุคEocene ระหว่าง 40-46ล้านปีก่อน ซึ่งน่าจะถูกพามาที่มหาสมุทรอาร์คติกจากพื้นที่รอบๆโดยแผ่นน้ำแข็งที่ลอยมา ชี้ให้เห็นว่าสภาพอากาศมีความหนาวเย็นช่วงเดียวกับที่มหาสมุทรแอนทาร์คติกที่ขั้วโลกใต้ กำลังเริ่มเกิดเป็นทวีปน้ำแข็ง ซึ่งก่อนนี้เคยเชื่อว่าขั้วโลกใต้มีการเกิดน้ำแข็งเร็วกว่าที่ขั้วโลกเหนือมาก
ข้อมูลจาก
-Was the north pole once ice free? Albert Gerdes. German Research 2/2005
ข้อมูลเพิ่มเติม
-ข้อมูลเกี่ยวกับยุคทางธรณีวิทยา
-european consortium for ocean research drilling
-integrated ocean drilling program

ไม่มีความคิดเห็น: