วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เด็กแฝดมักเกิดกับแม่ที่มีอายุมาก.

เด็กแฝดมักเกิดกับแม่ที่มีอายุมาก.

การศึกษาของชาวดัชพบว่า เด็กแฝดมักเกิดกับแม่ที่มีอายุมากเพราะว่าแม่มักจะมีแนวโน้มที่จะสร้างไข่ได้ทีละหลายใบมากกว่าหญิงที่มีอายุน้อยกว่า

การเพิ่มขึ้นของการรักษาเรื่องการสืบพันธุ์ (ของแต่ละคน) อธิบายถึงอัตราการเกิดของแฝดคู่ไม่เหมือน (non-identical twin)

นักวิจัยจาก Vrije University อัมสเตอร์ดัม มองไปที่การพัฒนาของไข่ในหญิงมากกว่า 500 คน เพื่อที่จะดูว่าทำไมการเกิดแฝดจึงเกิดขึ้นบ่อยนัก งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร journal Human Reproduction

แฝดเหมือน (Identical twins) เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิของไข่ใบเดียวที่มีการแบ่งตัวทำให้ได้เด็ก 2 คน แต่แฝดคู่ไม่เหมือน (non-identical twin) เกิดจากการพัฒนาของไข่ที่ปฏิสนธิ 2 ใบ

แฝดคู่ไม่เหมือนนับเป็น 1 ใน 3 ของการท้องเด็กแฝด

ในวงจรปกติ ฮอร์โมนที่มีชื่อว่า follicle stimulating hormone (FSH) กระตุ้นการเจริญของไข่ที่อยู่ในฟอลลิเคิล (follicle) ในรังไข่ กระบวนการนี้ถูกควบคุมเมื่อฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่แล้ว ระดับของฮอร์โมน FSH ก็จะลดลง

นักวิทยาศาสตร์ชาวดัชได้วิเคราะห์การพัฒนาของฟอลลิเคล (ซึ่งเป็นที่สร้างไข่) ในวงจร 959 รอบในผู้หญิง

เมื่อทำการให้สเปิร์มเข้าไปภายในมดลูกโดยตรง เพราะสาเหตุจากการเป็นหมันที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือการเป็นอย่างอ่อนของผู้ชาย นักวิจัยพบว่ามีการพัฒนาของฟอลลิเคิลในรังไข่ที่สร้างไข่หลายใบ เกิดขึ้นในผู้หญิง 105 คน (ฟอลลิเคิล 1 อันมีขนาดใหญ่กว่า 14 มิลลิเมตร) ในผู้หญิง 105 คนนั้นมีเพียง 5 คนที่อายุต่ำกว่า 30 ปี 45 คนมีอายุระหว่าง 30-35 ปี และ 55 คน มีอายุมากกว่า 35 ปี ความเข้มข้นของฮอร์โมน FSH เพิ่มขึ้นตามอายุ ทั้งในผู้หญิงที่มีการพัฒนาของฟอลลิเคิลแบบมีการสร้างไข่ใบเดียวและหลายใบ แต่คนที่มีการสร้างไข่หลายใบจะมีระดับฮอร์โมนที่สูงกว่า

ในระยะสุดท้ายของระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง คือในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ อายุ 38-48 ปี เรียกว่าช่วง peri-menopausal transition ซึ่งต่อมพิทูอิทารี (pituitary gland) ได้ผลิตฮอร์โมน FSH มากขึ้นๆ เพื่อใช้ในการกระตุ้นการพัฒนาของไข่ที่เหลืออยู่น้อยในฟอลลิเคิล

จากการศึกษาพบว่า ในผู้หญิงบางคนระดับของ FSH ได้สูงขึ้นเรื่อยๆ เกินระดับที่ต้องการในการทำให้ไข่ 1 ใบสุก อย่างไรก็ตาม ถ้ามีฟอลลิเคิล 2 อันหรือมากกว่าที่ประกอบไปด้วยไข่ที่มีคุณภาพดีที่พร้อมจะสุก เมื่อมีการกระตุ้นการตกไข่สองครั้งในเวลาเดียวกันเกิดขึ้น ทำให้เกิดการตั้งครรภ์แบบแฝดเกิดขึ้นได้มากขึ้น

Dr Cornelius Lambalk หัวหน้าหน่วยวิจัยทางการแพทย์ของระบบสืบพันธุ์จาก Vrije University Medical Centre ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการศึกษา กล่าวว่า อายุที่มากขึ้นของผู้หญิงเกี่ยวพันกับความสามารถในการสืบพันธุ์ที่ลดลง เนื่องจากการลดลงของคุณภาพและจำนวนของไข่ที่พร้อมจะสุก แต่ในขณะเดียวกันก็มีการของอัตราการเกิดแฝดคู่ไม่เหมือนก็เพิ่มขึ้นด้วยอย่างชัดเจน ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์ที่ประหลาดที่ไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดจนถึงตอนนี้

Dr Gillian Lockwood แพทย์ผู้อำนวยการของ Midland Fertility Services กล่าวว่า การศึกษาได้ชี้ชัดถึงอะไรที่ผู้เชี่ยวชาญสงสัย ผลของที่เราพยายามตั้งใจที่จะเหนี่ยวนำการตกไข่หรือ IVF เมื่อเราฉีดฮอร์โมน FSH ไปเพื่อกระตุ้นให้สร้างหลายฟอลลิเคิลใน 1 รอบ

เรื่องที่เกี่ยวข้องมากกว่าอัตราการเกิดที่ลดลง โดยเฉพาะกับหญิงที่แก่ ซึ่ง “ปล่อยให้มันสายเกินไป” เป็นที่น่าสนใจที่จะคาดเดาว่า กลไกของธรรมชาติอาจจะชดเชยให้ โดยเพิ่มเติมส่วนที่ขาดไปก่อนหน้านี้


ที่มา http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/4735446.stm

ไม่มีความคิดเห็น: