วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ว้าว!! ในที่สุดก็ได้เห็น “วงแหวนแห่งไฟ”


ในที่สุด ก็ได้เห็น “วงแหวนแห่งไฟ” ปรากฏขึ้นระหว่างการเกิดสุริยุปราคา ที่ท้องฟ้าเหนือเกาะชวา เตือนไว้นิดว่าอย่าเพ่งนาน เพราะแม้ว่าจะเป็นภาพถ่าย แต่ก็ร้อนแรงไม่แพ้แสงอาทิตย์ ในที่สุด ก็ได้เห็น “วงแหวนแห่งไฟ” ปรากฏขึ้นระหว่างการเกิดสุริยุปราคา ที่ท้องฟ้าเหนือเกาะชวา เตือนไว้นิดว่าอย่าเพ่งนาน เพราะแม้ว่าจะเป็นภาพถ่าย แต่ก็ร้อนแรงไม่แพ้แสงอาทิตย์
สุริยุปราคา ที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 ม.ค.2552 นี้ แม้ว่าจะสังเกตกันได้ในหลายพื้นที่ แต่มีผู้โชคดีเพียงน้อยนิด ที่จะได้เห็น “วงแหวนแห่งไฟ” (Ring of fire) ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกของ “สุริยุปราคาแบบวงแหวน” (Annular Solar Ecplise) โดยในช่วงกลางของอุปราคา ดวงอาทิตย์จะถูกบังด้วยดวงจันทร์ทั้งดวง แต่ไม่ทาบสนิท จึงเห็นเป็นรูปวงแหวน
สุริยุปราคาแบบวงแหวนนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตอยู่ในตำแหน่งเงามืดพาดลงบนพื้นโลก แต่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมาก จนเงามืดทอดยาวไม่ถึงโลก ทำให้เห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
สำหรับผู้ที่คาดว่าจะโชคดีทีได้เห็น “วงแหวนแห่งไฟ” ก็คือ ผู้ที่อยู่ในแถบมหาสมุทรอินเดีย โดยสามารถสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดถึง 7 นาที 56 วินาที แต่ภาพนี้ก็ได้รับการบันทึกที่เมืองบันดาร์ ลัมปุง (Bandar Lampung) บนเกาะชวา ห่างจากกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปนิดเดียว
ส่วนผู้ที่อยู่ในบริเวณอื่นๆ อย่าง แอฟริกา มาดากัสการ์ ออสเตรเลีย อินเดียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ก็ได้เห็นเป็นเพียงสุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) ที่ผู้สังเกตอยู่ในตำแหน่งเงามัว จึงเห็นดวงอาทิตย์สว่างเป็นเสี้ยว อย่างที่ได้ชมผ่านตาไปแล้ว
อย่างไรก็ดี คราสครั้งสำคัญอีกครั้งในปีนี้ คือ “สุริยุปราคาเต็มดวง” ในเดือน ก.ค.2552 ซึ่งพื้นที่ที่จะสังเกตเห็นได้ทั้งหมดของปรากฏการณ์ คือ อินเดีย และ จีน (ทั้งคู่นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากอันดับสูงสุดของโลก -- ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่า สุริยคราสครั้งนี้ น่าจะมีผู้ได้ชมมากที่สุดไปด้วย) อีกทั้งยังเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานกว่า 6 นาที นับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21
ระหว่างรอปรากฏการณ์ใหญ่แห่งศตวรรษ ก็ยังมีจันทรุปราคาเงามัว 2 ครั้ง เรียกน้ำย่อยกันไปก่อน คือ วันที่ 9 ก.พ.2552 ระหว่างเวลา 19.39-23.38 น.และอีกครั้งในวันที่ 7 ก.ค.2552 ระหว่างเวลา 15.38-17.39 น. โดยไม่เห็นในประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น: